พาฟลอฟ
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ
Ivan Petrovich Pavlov
ประวัติความเป็นมา
พาฟลอฟมีชื่อเต็มว่า Ivan Petrovich Pavlov เป็นชาวรัสเซีย มีช่วงชีวิตอยู่ระหว่าง ปี ค.ศ. 1849 - 1936 ถึงแก่กรรมเมื่ออายุประมาณ 87 ปี
พาฟลอฟเป็นนักวิทยาศาสตร์ ครั้งแรกเขาสนใจศึกษาระบบการหมุนเวียนโลหิตและระบบหัวใจ ต่อมาได้หันไปสนใจศึกษา เกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร จนทำให้เข้าได้รับรางวัลโนเบิลสาขาสรีรวิทยา ในปี ค.ศ.1904
ต่อมาพาฟลอฟได้หันมาสนใจเกี่ยวกับด้านจิตเวช (Psychiatry) และในบั้นปลายของชีวิต เขาได้อุทิศเวลาทั้งหมดในการสังเกตความเป็นไปในโรงพยาบาลโรคจิต และพยายามนำการสังเกตเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทดลองสุนัขในห้องปฏิบัติการจนได้รับชื่อเสียงโด่งดัง และได้ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกขึ้น
หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี
พาฟลอฟเชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไจ (Conditioning) กล่าวคือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้านั้น ๆ ต้องมีเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น ซึ่งในธรรมชาติหรือในชีวิตประจำวันจะไม่ตอบสนองเช่นนั้นเลย
การทดลองของพาฟลอฟ
ศัพท์ที่เกี่ยวข้อง กับการทดลอง
1. Unconditioned Stimulus ; UCS สิ่งเร้าที่ไม่ต้องมีการวางเงื่อนไข เป็นสิ่งเร้าที่มีผลต่อพฤติกรรมตอบสนองโดยตรง
2. Conditioned Stimulus ; CS สิ่งเร้าที่ต้องมีการวางเงื่อนไข เป็นสิ่งเร้าที่ไม่มีผลต่อพฤติกรรมตอบสนองโดยตรง
3. Unconditioned Response ; UCR พฤติกรรมตอบสนองที่ไม่ต้องมีการวางเงื่อนไข เป็นพฤติกรรมตอบสนองที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อน ของร่างกาย เช่น น้าลายไหล ส่ายหัว (สุนัข)
4. Conditioned Response ; CR พฤติกรรมตอบสนองที่ต้องมีการวางเงื่อนไข เป็นพฤติกรรมตอบสนองที่เกิดขึ้น เมื่อมีการเรียนรู้ เงื่อนไขที่กำหนด
ขั้นตอนการทดลองของพาฟลอฟ
การเตรียมการทดลอง เป็นการเตรียมสิ่งที่ใช้ทดลอง ได้แก่ สุนัขที่กำลังหิว อาหาร กระดิ่ง เครื่องวัดน้ำลายและท่อยาง
ก่อนการวางเงื่อนไข เป็นขั้นศึกษาพฤติกรรมตอบต่อสิ่งเร้าของสุนัข
ระหว่างการวางเงื่อนไข เป็นขั้นของการทำให้สุนัขเกิดการเรียนรู้เงื่อนไข เพื่อแสดงพฤติกรรมตอบสนอง
ขั้นของการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข เป็นขั้นที่ทำให้รู้ว่าสุนัขเกิดพฤติกรรมตอบสนองการเรียนรู้ ตามทฤษฎีการวางเงื่อนไขของพาฟลอฟหรือยัง
การประยุกต์ใช้ในการสอน
1. ครูสามารถใช้หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี ทำความเข้าใจของพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึก ทั้งทางด้านดีและไม่ดี รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ
2. ครูใช้หลักการเรียนรู้ทฤษฎีปลูกฝังความรู้สึก เจตคติที่ดีในตัวผู้เรียนต่อเนื้อหาวิชา ตัวครูผู้สอน รวมทั้งสิ่งแวดล้อมต่างๆ
3. ครูควรป้องกันมิให้นักเรียนพบแต่ความล้มเหลว เนื่องจากความล้มเหลวนี้สัมพันธ์กับความรู้สึกวิตกกังวล เมื่อเกิดความวิตกกังวลแล้ว จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการเรียนรู้ต่ำลง หรือเกิดการหลีกเลี่ยงทำกิจกรรมต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น