ทฤษฎีพัฒนาการของโรเบิร์ต

บทความ



ทฤษฎีพัฒนาการตามวัยของโรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส
Havighurst’s Theory of Development task )






ศาสตราจารย์โรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส (Robert havighurst 1953-1972 ) ได้ให้ชื่อว่า งานที่มนุษย์       ทุกคนจะต้องทำตามวัยว่า งานพัฒนาการ หมายถึง งานที่ทุกคนจะต้องทำในแต่ละวัยของชีวิต สัมฤทธ์ผลของงาน พัฒนาการของงานแต่ละวัย มีความสำคัญเพราะเป็นของการเรียนรู้งานพัฒนาขั้นต่อไป

ตัวแปรที่สำคัญในการพัฒนา
1.วุฒิภาวะทางร่างกาย
2.ความมุ่งหวังของสังคมและกลุ่มที่แต่ละบุคคลเป็นสมาชิกอยู่
3.ค่านิยม แรงจูงใจ ความมุ่งหวังส่วนตัว
3.1 ความพร้อมเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ( Natural Readiness Approach )
                กลุ่มนี้นี้ความเห็นว่า  ความพร้อมของบุคคลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อถึงวัยหรือเมื่อถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดได้ดังนั้นในกลุ่มนี้จึงเห็นว่าการทำอะไรก็ตามไม่ควรจะเป็น การเร่ง” เพราะการเร่งจะไม่ทำให้เกิดประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น ตรงกันข้ามอาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมาคือ ความท้อถอย และความเบื่อหน่าย เป็นต้น
3.2ความพร้อมเกิดจากการกระตุ้น ( Guided Experience Approach)
กลุ่มนี้มีความเห็นตรงข้ามกับกลุ่มแรก คือ เห็นว่า ความพร้อมนั้นสามารถเร่งให้เกิดขึ้นได้ โดยการกระตุ้น การแนะนำ การจัดประสบการณ์อันจะก่อให้เกิดเป็นความพร้อมได้โดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยเด็ก ซึ่งจะเป็นวัยที่มีช่วงวิกฤติ  (Critical  Period)ของการเรียนรู้และการปรับตัวเป็นอย่างมาก
4.สิ่งแวดล้อม ได้แก่  สิ่งที่อยู่รอบตัวบุคคลนั้นๆ ทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต  นอกจากนั้นสิ่งแวดล้อมยังหมายรวมถึงระบบและโครงสร้างต่างๆ ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น เช่น ระบบครอบครัว ระบบสังคม ระบบวัฒนธรรม เป็นต้น

การแบ่งพัฒนาการของมนุษย์
พัฒนาการของมนุษย์ แบ่งออกเป็น ด้านใหญ่ คือ
1.พัฒนาการทางร่างกาย เป็นการแบ่งพัฒนาการของมนุษย์ตามขั้นตอนในแต่ละวัน
2.พัฒนาการทางด้านความคิดหรือสติปัญญา (Cognitive Development) ของเพียเจท์
3.พัฒนาการทางด้านจิตใจ ซึ่งแบ่งย่อยเป็น
                            3.1 พัฒนาการทางด้านจิตใจ-เพศ (Psychosexual Development) ของฟรอยด์ (Freud)
                            3.2 พัฒนาการทางด้านจิตใจ-สังคม (Psychosocial Development) ของอีริคสัน (Erikson)
4. พัฒนาการด้านจริยธรรม (Moral Development) ของโคลเบริ์ก (Kohlberg)


พัฒนาการตามวัย
ตามความคิดของโรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส ได้แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ออกเป็นวัยต่างๆ ช่วงอายุ ดังนี้
1.วัยเด็กเล็ก-วัยเด็กตอนต้น ( แรกเกิด- ปี )
เรียนรู้ที่จะเดิน
-เรียนรู้ที่จะรับประทาน
-เรียนรู้ที่จะสร้างความผูกพันตนเองกับพ่อแม่  เป็นต้น
                                ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัยเด็กเล็ก-วัยเด็กตอนต้น ( แรกเกิด- 6 ปี )     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัยเด็กเล็ก-วัยเด็กตอนต้น ( แรกเกิด- 6 ปี ) 

2.วัยเด็กตอนกลาง ( 6-12 ปี )
- เรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากันได้กับเพื่อนรุ่นเดียวกัน                   
- สามารถช่วยตนเองได้                                                                                     
- พัฒนาทักษะพื้นฐานในการอ่าน เขียน และคำนวณ เป็นต้น

                      ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 2.วัยเด็กตอนกลาง ( 6-18 ปี )     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ .วัยเด็กตอนกลาง ( 6-12 ปี )




3.วัยรุ่น ( 12-18 ปี )
- รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเองได้
- สามารถสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นในสังคมได้
- มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมได้



           ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 2.วัยเด็กตอนกลาง ( 6-18 ปี )        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 3.วัยรุ่น ( 12-18 ปี )
                              
4.วัยผู้ใหญ่ตอนต้น ( 18-35 ปี )
มีการเลือกคู่ครอง
- รู้จักจัดการภารกิจในครอบครัว
                         ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยผู้ใหญ่ตอนต้น ( 18-35 ปี )     รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


5.วัยกลางคน ( 35-60 ปี )
-  รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์        
- เรียนรู้ที่จะยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย


                           ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 5.วัยกลางคน ( 35-60 ปี )       ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 5.วัยกลางคน ( 35-60 ปี )

6.วัยชรา  ( อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป )
- สามารถรับตัวได้กับสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง               
- ปรับตัวได้กับการที่ต้องเกษียณอายุตลอดจนเงินเดือนลดลง

                   ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 6.วัยชรา  ( อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป )          ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 6.วัยชรา  ( อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป )



หลักพัฒนาการแนวคิด
- สามารถที่จะแสดงบทบาททางสังคมได้เหมาะสมกับเพศของตน
- เลือกและเตรียมตัวที่จะเลือกอาชีพในอนาคต
- พัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญาและความคิดรวบยอดต่างๆที่จำเป็นสำหรับสมาชิกของชุมชนที่มีสมรรถภาพ
- มีความต้องการที่จะแสดงพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

การนำไปประยุกต์ใช้
                สามารถสังเกตุพัฒนาการต่างๆของเพื่อนๆและคนรอบข้าง เพื่อให้รู้จักนิสัยใจคอมากขึ้น และใช้เทคโนโลยี สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับทางการศึกษาและการสืบค้นหรืออื่นๆได้


.............................................................................................................................................................................

ประวัติ

                                     

                        

                          ประวัติของโรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส


....................................................................................................

ทฤษฎี



ทฤษฎีพัฒนาการของโรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส

(Havighurst’s Theory of Development task)







ทฤษฎีพัฒนาการของโรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส มีการแบ่งออกเป็นลำดับขั้นของงานพัฒนาการ และที่สำคัญเขาจะแบ่งออกตามวัยต่างๆอย่างละเอียด และเขาก็ได้ให้ความหมายของ"งานพัฒนาการ"ว่าเป็นงานที่มนุษย์ทุกคนจะต้องทำในแต่ละช่วงวัยของชีวิต และถ้าสัมฤทธิ์ผลของงานพัฒนาการแต่ละวัย จะมีความสำคัญมาก เพราะว่าจะเป็นรากฐานของการเรียนรู้งานพัฒนาการขั้นต่อไป อย่างเช่น ถ้าเด็กประสบผลความสำเร็จในงานพัฒนาการตั้งแต่เริ่มแรกของชีวิต จะช่วยให้มีความก้าวหน้าและความสำเร็จในงานพัฒนาขั้นต่อไปด้วย และกลับตรงกันข้ามกับเด็กที่ประสบความล้มเหลวในงานพัฒนาการและยังทำให้เด็ก ไม่มีความสุขและสังคมก็ไม่ยอมรับอีกต่างหาก และนี่ก็สามารถบ่งบอกว่าให้ผู้ที่ได้เรียนรู้เรื่องนี้เข้าใจ เข้าถึงปัจจัยต่างๆว่า ในแต่ละช่วงวัยของชีวิตคนเราจะมีงานพัฒนาการอย่างไร ต้องทำอะไรบ้าง และมีวิธีไหนบ้างที่ต้องทำให้ในแต่ละช่วงวัยจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้น และก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต  


.........................................................................................................................................................................................

การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน

   
      การประยุกต์ใช้พัฒนาการของโรเบิร์ต เจฮาวิกเฮิร์ส ในชั้นเรียน                รูปภาพที่เกี่ยวข้อง 



 การนำไปใช้งานพัฒนาการของโรเบิร์ต เจฮาวิกเฮิร์ส มีผู้นำไปประยุกต์ใช้ในวงการศึกษามาก โดยเฉพาะในระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เพราะทำให้ครูทราบว่าเด็กในวัยต่างๆ นั้น ทำอะไรได้บ้าง จะจัดการเรียนรู้อย่างไรให้สนองความพร้อมของเด็ก เมือครูทราบว่าเด็กวัยนั้นๆ ควรทำ อะไรได้บาง สิ่งเหล่านี้มีความจำเป็น อย่างไร
ระดับอนุบาล
1.มีความคิดรวบยอดง่ายๆ เกี่ยวกับความจริงทางสังคมและทางกายภาพ
2.เรียนรู้ที่จะสร้างความผูกพันระหว่างตนเองกับพ่อแม่พี่น้องตลอดจนคนอื่นๆ
3.เรียนรู้ที่จะมองเห็นความแตกต่าง ระหว่างสิ่งที่ผิดที่ถูก และเริ่มพัฒนา ทางจริยธรรม


                                     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปในชั้นเรียนอนุบาล

ระดับประถมศึกษา
1.เรียนรู้ที่จะใช้ทักษะทางด้านร่างกาย
2.สร้างเจตคติต่อตนเองในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิต
3.เรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนรุ่นเดียวกัน
4.เรียนรู้บทบาทที่เหมาะสมของเพศหญิงและเพศชาย
5.พัฒนาเกี่ยวกับศีลธรรมจรรยาและค่านิยม
6.สามารถพึ่งพาตนเองได้
7.พัฒนาเจตคติต่อกลุ่มสังคมและต่อสถาบันต่างๆ
8.พัฒนาทักษะพื้นฐานในการอ่าน เขียน และคำนวณ
                            ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปในระดับประถมศึกษา

ระดับมัธยมศึกษา
1.สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีและเหมาะสมกับเพื่อนในราวคราวเดียวกัน
2. แสดงบทบาททางสังคมได้เหมาะสมกับเพศของตน
3. ยอมรับสภาพร่างกายตนเอง
4. รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเองได้
5.  มีการเตรียมตัวเพื่อการแต่งงานและการมีครอบครัว  
6. เริ่มเตรียมตัวที่จะเป็นพลเมืองดี
7.  มีความต้องการและรู้จักพัฒนาตนเองให้มีความรับผิดชอบ
8. มีความเข้าใจในเรื่องค่านิยม

                               ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปในชั้นเรียนระดับระดับมัธยมศึกษา วัยรุ่น





..................................................................................................................

แบบทดสอบ




จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง 

1. เด็กที่่มีพัฒนาการในเรื่่องการปรับตัวเข้ากับเพื่่อนรุ่นเดียวกัน อยู่ในช่วงอายุใด ?
ก. อายุ 12-18 ปี

ข. แรกเกิด-6  ปี
ค. อายุ 6-12  ปี
ง. แรกเกิด-3  ปี 

2. ดานิน มักจะเข้าหากับเพื่่อนๆ เมื่่อคุณครูให้ทำงานเป็นกลุ่ม ดานินอยู่ในช่วงวัยใด ?
ก.วัยเด็กตอนต้น
ข.วัยเด็กตอนกลาง
ค. วัยรุ่นตอนต้น
ง. วัยเด็กเล็ก

3. ในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย วัยรุ่นจะคิดในเรื่่องใดเป็นหลัก ?
ก. นิดา เริ่มรู้จักโลกส่วนตัวสูง ไม่ชอบเข้าสังคมกับเพื่่อน
ข. ซาร่า คิดจะโมโหเพื่อนตลอดเวลา
ค. โนรี คิดที่จะอยู่ติดกับครอบครัว โดยจะให้แม่เป็นที่่ปรึกษา
ง. ซานี ตั้งใจหมั่นเพียรในการอ่านหนังสือเตรียมสอบบรรจุข้าราชการ เพื่ออาชีพครูที่มั่นคง

4. ในช่วงวัยใดที่รีน่าและชารีฟ เริ่มเลือกคนรู้ใจมาเป็นคู่ชีวิตและพร้อมที่จะใช้ชีวิตคู่ ?
ก. วัยรุ่นตอนต้นและตอนปลาย ( อายุ 12-18 ปี )
ข. วัยผู้ใหญ่ตอนต้น ( อายุ 18-35 )
ค. วัยชรา ( อายุ60 ปีขึ้นไป )
ง. วัยกลางคน ( อายุ 35-60 ปี )

5. ในช่วงวัยรุ่นตอนต้นและตอนปลาย ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด ?
ก. อามีน ไม่ยอมรรับข้อเสนอแนะจากเพื่อนๆทุกประการ
ข. ฮาฟิซกับไฟซอล รู้จักรับผิดชอบต่อการวางตัวในสังคม
ค. กามาล ชอบใช้ความรุนแรงกับเพื่อนตลอด โดยไม่ฟังเหตุผลใดๆ
ง. ซากิฟ ชอบแย่งของกับน้อง เพราะถือว่าเป็นพี่

6. ทักษะพื้นฐานในการอ่าน  เขียนและคำนวณ เกิดขึ้นในช่วงวัยใด ?

ก. วัยเด็กตอนกลาง
ข. วัยเด็กตอนต้น
ค. วัยรุ่น
ง. วัยกลางคน 

7. วัยใดที่สามรถปรับตัวได้กับสภาพร่างกายที่เสื่อมลง ?
ก. วัยทารก
ข. วัยกลางคน
ค. วัยชรา
ง. วัยผู้ใหญ่ตอนต้น

8. ทฤษฎีพัฒนาการของโรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส มีประโยชน์ในด้านใด ?
ก. ด้านอุตสาหกรรม
ข. ด้านการศึกษา
ค. ด้านการทรงตัว
ง.  ด้านเกษตรกรรม

9. วัยใดที่มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ?
ก.  วัยรุ่น
ข.  วัยผู้ใหญ่ตอนต้น
ค. วัยชรา
ง.  วัยทารก

10. โรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส จบการศึกษาในสาขาวิชาใด ?
ก. สาขาวิชาจิตวิทยา
ข. สาขาฟิสิกส์
ค. สาขาวิชาคณิตศาสตร์
ง. สาขาวิชาเคมี
















             

เฉลยข้อสอบ

ข้อ 1.   
ข้อ 2.   
ข้อ 3.   
ข้อ 4.   
ข้อ 5.   
ข้อ 6.   
ข้อ 7.   
ข้อ 8.   
ข้อ 9.   
ข้อ 10. ข 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น