ทฤษฎีพัฒนาการของอีริคสัน

ประวัตินักจิตวิทยาทฤษฎีพัฒนาการ

ประวัติอีริค อีริคสัน (Erik Erickson)



อีริคสัน เป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ได้สร้างทฤษฎีขึ้นในแนวทางความคิดของฟรอยด์ แต่ได้เน้นความสำคัญ ทางด้านสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจ (Psychological Environment) ว่ามีบทบาทใน พัฒนาการบุคลิกภาพมาก ความคิดของอีริคสันต่างกับฟรอยด์หลายประการ เป็นต้นว่า เห็นความสำคัญของ Ego มากกว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่น แต่ต่อไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต คือ วัยชรา และตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ บุคลิกภาพของคนก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ



.........................................................................................................


แนวคิดทฤษฎีพัฒนาการ

ทฤษฎีพัฒนาการทางจิต-สังคมของอีริคสัน

อีริคสัน  Psychosocial
             - เน้นปฏิสัมพันธ์ทางสังคม      
             - ถ้าปฏิสัมพันธ์ไม่ดีส่งผลต่อการปรับตัวของสุขภาพจิต 

อีริคสัน  Psychosocial  แบ่งพัฒนาการทางบุคลิกภาพออกเป็น 8  ขั้น
             
ขั้นที่ 1  อายุ 1-2 ขวบ ไว้วางใจและไม่ไว้วางใจ  (Trust  vs  Mistrust)  ความอบอุ่นที่เกิดจากครอบครัว ทำให้เด็กเชื่อถือไว้ใจต่อโลก ไว้ใจคนอื่น ทำให้กล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่
             
ขั้นที่ 2  อายุ  2-3 ขวบ เป็นอิสระหรือละอายสงสัย (Autonomous  vs  Shame and Doubt)  ระยะที่เด็กพยายามใช้คำพูดของตัวเองและสำรวจโลกรอบๆตัว ถ้าพ่อแม่สนับสนุนจะทำให้เด็กรู้จักช่วยตนเองและมีอิสระ ส่งเสริมความสามารถของเด็ก 
             
ขั้นที่ 3  อายุ 4-5 ขวบ คิดริเริ่ม หรือรู้จักผิด (Initiative  vs  Guilt) บทบาทของสังคม ริเริ่มทางความคิดจากการเล่น เด็กที่ถูกห้ามไม่ให้ทำอะไรในสิ่งที่เขาอยากทำ เป็นเหตุให้เด็กรู้สึกผิด ตลอดเวลา บิดามารดาควรพิจารณาร่วมกันว่ากิจกรรมใดที่ปล่อยให้เด็กทำได้ ก็ให้เด็กทำ จะได้เกิดคุณค่าในตัวเอง ลดความรู้สึกผิดลงได้ 
             
ขั้นที่ 4  อายุ 6-11 ขวบ ขยัน หรือมีปมด้อย (Industry  vs  Inferiority) เด็กจะเริ่มมีทักษะทางด้านร่างกายและสังคมมากขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่เด็กเริ่มมีการแข่งขันกันในการทำงาน เด็กวัยนี้จะชอบให้คนชม ถ้าขาดการสนับสนุนอาจทำให้เกิดความรู้สึกมีปมด้อย
             
ขั้นที่ 5  อายุ 11-18 ปี เข้าใจบทบาทของตัวเอง หรือ สับสนในบทบาทของตัวเอง(EgoIdentity  vs  Role  Confusion) ระยะมีเอกลักษณ์ของตนเองกับความไม่เข้าใจตนเอง : เป็นระยะที่เด็กเริ่มสนใจเพศตรงข้ามรู้จักตนเอง ว่าเป็นใคร ถนัดด้านใด สนใจอะไร และถ้าเด็กมีความรู้สึกไม่เข้าใจตนเองก็จะเกิดความสับสน ในตนเอง และล้มเหลวในชีวิตได้
              
ขั้นที่ 6 อายุ 20-35 ปี ผูกพัน หรือตีตัวออกห่าง(Intimacy  vs  Isolation) เป็นวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ใช้ชีวิตแบบผู้ใหญ่ทำงานเพื่อประกอบอาชีพ สร้างหลักฐาน มีความรักความผูกพัน 
  
ขั้นที่ 7 อายุ 36–59 ปี การสืบทอดกับการคำนึงถึงแต่ตนเอง (Generativity vs. Self absorption/ Stagnation) ขั้นนี้อยู่ในช่วงเริ่มเข้าสู่วัยกลางคน เป็นระยะที่บุคคลมีครอบครัว มีบุตร และเลี้ยงดูบุตรด้วยความเอาใจใส่ ในระยะนี้บุคคลต้องการมีบุตรไว้สืบสกุล บุคคลที่ไม่สามารถพัฒนามาถึงขั้นนี้ย่อมเกิดความรู้สึกท้อถอยและเหนื่อยหน่ายในชีวิต คิดถึงแต่ตนเอง เริ่มมีความเจ็บป่วยเรื้อรัง และปฏิเสธความรับผิดชอบต่อสังคม
              
ขั้นที่  8 อายุ 60 ขึ้นไป มีศักดิ์ศรี หรือหมดหวัง (Ego  Integrity  vs  Despair) วัยที่ต้องยอมรับความจริงของชีวิต ระลึกถึงความทรงจำในอดีต ถ้าอดีตที่ผ่านมาแล้วประสบความสำเร็จจะทำให้มีความมั่นคงทางจิตใจ

               
สรุป ทฤษฎีของอีริคสัน เป็นทฤษฎีที่อธิบายพัฒนาการของชีวิตตั้งแต่งวัยทารกจนถึงวัยชรา อีริคสันเชื่อว่า วัยแรกของชีวิตเป็นวัยที่เป็นรากฐานเบื้องต้น และวัยต่อ ๆ มาก็สร้างจากรากฐานนี้


...................................................................................................................................................................


การนำไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนของทฤษฎีพัฒนาการ

ทฤษฎีพัฒนาจิต-สังคมของอิริคสัน

การนำไปประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
        
       ทฤษฎีพัฒนาการทางจิต สังคมของอีริคสันส่งผลให้วงการศึกษาตื่นตัวอย่างน้อยที่สุด 2 เรื่องคือ สัมพันธภาพระหว่างบุคคลและการรับรู้เกี่ยวกับตนเอง ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการพัฒนาแต่ละช่วงวัยของผู้เรียน นอกจากนี้ครูที่นำขั้นพัฒนาการมาใช้เป็นแนวคิดพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ก็จะสามารถช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีบุคลิกภาพหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น