ทฤษฎีพัฒนาการของบรูเนอร์

บรูเนอร์


ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของ เจโรม บรูเนอร์



ประวัติความเป็นมา เจโรมบรูเนอร์ 
              เจโรม บรูเนอร์ เกิดในเมืองนิวยอร์ค ในปี ค.. 1915  เป็น นักการศึกษา และนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งผลงานส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผล งานของเปียเจต์  บรูเนอร์มีความสนใจในเรื่องพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก
              บรูเนอร์มีความเชื่อว่า “ การ เรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองทั้งนี้โดยมีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์หรือความ รู้เดิม ” 


บรูเนอร์ได้จัดลำดับขั้นพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กหรือโครงสร้างทางสติปัญญาเป็น ขั้น

          ขั้นที่ การเรียนรู้ด้วยการกระทำ (Enactive representation) อายุแรกเกิด-2 ปี  การเรียนรู้ที่เกิดจากประสาทสัมผัส ดูตัวอย่างและทำตาม


          ขั้นที่ 2 การเรียนรู้ด้วยการลองและจินตนาการ (Iconic representation )  อายุ 5-8 ปี เด็กเรียนรู้ในการมองเห็น การสัมผัส โดยการนึกมโนภาพ


          ขั้นที่ 3 การเรียนรู้โดยการใช้สัญลักษณ์ (Symbolic representation)   เป็นการพัฒนาการขั้นสูงสุดของความรู้ความเข้าใจ เช่น การแก้ปัญหาซึ่งผู้เรียนจะใช้ในการเรียนได้เมื่อมีความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม 



แนวคิดของบรูเนอร์ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา
          1. ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น อยู่ในลักษณะของการกระทำ    โดยผ่านประสบการณ์ที่ได้พบเห็นและการรับรู้ต่างๆเด็กประถมต้นยังอยู่ ในวัยสามารถสร้างภาพในใจได้


          2. ระดับประถมปลาย พัฒนาการทางสติปัญญา จะแสดงให้เห็นจากการที่เด็กสามารถเลือกจากตัวเลือกหลาย ๆ ตัวในเวลาเดียวกันและสามารถแบ่งเวลาและความสนใจได้อย่างเหมาะสมกับตัวเลือกนั้น ๆ


          3. ระดับมัธยมศึกษา เด็กวัยนี้เป็นไปอย่างกว้างขวางขึ้น ครูมีวิธีช่วยให้พัฒนาขึ้นไปอีกโดยกระตุ้นโดยเน้นความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมต่าง ๆ


วิธีการสอนตามแนวคิดของบรูเนอร์
1. ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจภายใน มีความอยากรู้ อยากเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว
2. โครงสร้างของบทเรียนซึ่งต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3. การจัดลำดับความยาก-ง่ายของบทเรียนโดยคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
4. การเสริมแรงของผู้เรียน

สรุป
        บรูเนอร์มีความเห็นว่า คนทุกคนจะมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่าacting,imaging และ symbolizing เป็นกระบนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต มิใช่ว่าเกิดขึ้นเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะแรกๆของชีวิตเท่านั้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น