รูปแบบการสอน
รูปแบบการสอนกลุ่มพฤติกรรมนิยม
1. กลุ่มพฤติกรรมนิยม
1.1 แนวคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมนิยมทุกอย่างต้องมีสาเหตุและเมื่อสิ่งเร้าเข้ามากระทบกับมนุษย์ จึงทำให้มนุษย์มรพฤติกรรมตอบสนอง มุ่งที่จะศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) กับการตอบสนอง (Response)
1.2 รูปแบบการสอนกลุ่มพฤติกรรมนิยม
1.2.1 วิธีการสอนแบบโมเดลซิปปา
วิธีการสอนแบบโมเดลซิปปา ( CIPPA MODEL) คือ วิธีการจัดการเรียนสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งเน้นให้นักเรียน นักศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และการแลกเปลี่ยนความรู้ การได้เคลื่อนไหวร่างกาย และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิม
ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตน
ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่
ขั้นนี้เป็นการแสวงหาความรู้ใหม่ของผู้เรียนจากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้ต่างๆ
ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล / ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูล / ความรู้ที่หามาได้ ผู้เรียนสร้างความหมายของข้อมูล / ประสบการณ์ใหม่ๆ โดยใช้กระบวนการต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น กระบวนการคิดและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม
ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนให้กว้างขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนเองแก่ผู้อื่น และได้รับประโยชน์จากความรู้ของผู้อื่นไปพร้อมๆกัน
ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้
ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ และจัดสิ่งที่เรียนให้เป็นระบบระเบียบ เพื่อให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย
ขั้นที่ 6 การปฏิบัติ / หรือการแสดงผลงาน
ขั้นนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้ำหรือตรวจสอบความเข้าใจของตน และช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์
ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้
ขั้นนี้เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำความรู้ความเข้าใจของตนไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆที่หลากหลาย เพิ่มความชำนาญ ความสามรถในการแก้ปัญหา เป็นการให้โอกาสผู้เรียนใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ขั้นที่ 1-6 เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้ (Construction of Knowledge)
ขั้นที่ 7 เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ (Application) จึงทำให้รูปแบบนี้มีคุณสมบัติครบตามหลัก CIPPA
ประโยชน์
1. ผู้เรียนรู้จักการแสวงหาขอมูล ข้อเท็จจริงจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนรู้
2. ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดที่หลากหลาย เป็นประสบการณ์ที่จำนำไปใช้ได้ในการดำเนินชีวิต
3. ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับสมาชิกภายในกลุ่ม
http://www.nana-bio.com/Research/image%20research/research%20work/CIPPA/CIPPA04.html
https://prezi.com/huscjswer_m8/cippa-model/
1.2.2 วิธีสอนแบบโครงงาน
วิธีสอนแบบโครงงาน (Project Method) คือเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า หรือปฏิบัติงานตามหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจ ซึ่งผู้เรียนจะต้องฝึกกระบวนการทำงานอย่างมีขั้นตอน มีการวางแผนในการทำงานหรือแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ขั้นกำหนดปัญหา หรือสำรวจความสนใจ
2. ขั้นกำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียน
3.ขั้นวางแผนและวิเคราะห์โครงงาน
4.ขั้นลงมือปฏิบัติหรือแก้ปัญหา
5. ขั้นประเมินผลระหว่างปฏิบัติงาน
6. ขั้นสรุป รายงานผล และเสนอผลงาน
ประโยชน์
1.เป็นการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทมีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้ปฏิบัติจริง คิดเอง ทำเอง อย่างละเอียดรอบคอบ
2. ผู้เรียนรู้จักแสวงหาข้อมูล สร้างองค์ความรู้และสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง
3. ผู้เรียนมีทักษะในการแก้ปัญหา มีทักษะกระบวนการในการทำงาน มีทักษะการเคลื่อนไหวทางกาย
http://taamkru.com/th/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/
1.2.3 วิธีสอนแบบแสดงบทบาท
วิธีสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing Method) คือ วิธีสอนที่ใช้การแสดงบทบาทสมมติ หรือการเทียบเคียงสถานการณ์ที่เป็นจริงมาเป็นเครื่องมือในการสอน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. เลือกปัญหาที่นักเรียนทำความเข้าใจยาก จำยากสับสน หรือกล่าวตามสภาพจริงไม่ได้มาเป็นเรื่องที่จะแสดงบทบาท
2. ให้นักเรียนร่วมกันกำหนดตัวบุคคลให้เหมาะสมกับบทบาทนั้นๆ เท่าที่ลักษณะของบุคคลจะเอื้ออำนวยให้กับสภาพความเป็นจริง
ประโยชน์
1. นักเรียนได้เตรียมพร้อมกับความสนุกสนานเพลิดเพลิน
2. สามารถเข้าใจเรื่องราวได้ง่าย
3. ช่วยพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม
1.2.4 การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย
การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive Method) คือกระบวนการที่ผู้สอนจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฏ ทฤษฎี หลักเกณฑ์ ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุปตามวัตถุประสงค์ในบทเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ขั้นกำหนดขอบเขตของปัญหา เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนโดยการเสนอปัญหาเพื่อยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะหาคำตอบ
2. ขั้นแสดงและอธิบายทฤษฎี หลักการ เป็นการนำเอาทฤษฎี หลักการ กฎ ข้อสรุปที่ต้องการสอนมาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทฤษฎี หลักการนั้น
3. ขั้นใช้ทฤษฎี หลักการ เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะเลือกทฤษฎี หลักการ กฎ ข้อสรุปที่ได้จากการเรียนรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาที่กำหนดไว้ได้
4. ขั้นตรวจสอบและสรุป เป็นขั้นที่ผู้เรียน จะตรวจสอบและสรุปทฤษฎี หลักการ กฎ ข้อสรุปหรือนิยามที่ใช้ ว่าถูกต้อง สมเหตุสมผลหรือไม่ ข้อสรุปที่ได้พิสูจน์หรือตรวจสอบว่าเป็นจริงจึงจะเป็นความรู้ที่ถูกต้อง
5. ขั้นฝึกปฏิบัติ เมื่อผู้เรียนเกิดความเข้าใจในทฤษฎี หลักการ กฏ ข้อสรุปพอสมควรแล้ว ผู้สอนเสนอสถานการณ์ใหม่ให้ผู้เรียนสุขนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆที่หลากหลาย
ประโยชน์
1.เป็นวิธีการที่ช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้ง่ายรวดเร็วและไม่ยุ่งยาก
2. ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ไม่มากนัก
3.ฝึกให้ผู้เรียนรู้ได้นำเอาทฤษฎีหลักการกฎข้อสรุปหรือนิยามไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆ
http://baknong.blogspot.com/2015/08/deductive-httpnappy131.html
1.2.5 การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย
การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Induction Method) คือกระบวนการที่ผู้สอนจากรายละเอียดย่อย โดยการนำเอาตัวอย่างข้อมูล เหตุการณ์ สถานการณ์หรือปรากฏการณ์ที่มีหลักการแฝงอยู่มาให้ผู้เรียนศึกษาสังเกต ทดลอง เปรียบเทียบหรือวิเคราะห์จนสามารถสรุปหลักการหรือกฏเกณฑ์ได้ด้วยตนเอง
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ขั้นเตรียมการเป็นการเตรียมตัวผู้เรียนทบทวนความรู้เดิมหรือปูพื้นฐานความรู้
2. ขั้นเสนอตัวอย่างเป็นขั้นที่ผู้สอนนำเสนอตัวอย่างข้อมูลสถานการณ์เหตุการณ์ปรากฏการณ์ให้ผู้เรียนได้สังเกตลักษณะและคุณสมบัติของตัวอย่างเพื่อพิจารณาเปรียบเทียบสรุปเป็นหลักการแนวคิดหรือกฎเกณฑ์
3.ขั้นเปรียบเทียบเป็นขั้นที่ผู้เรียนทำการสังเกตค้นคว้าวิเคราะห์รวบรวมเปรียบเทียบความคล้ายคลึงกันขององค์ประกอบในตัวอย่างแยกแยะข้อแตกต่างมองเห็นความสัมพันธ์ในรายละเอียดที่เหมือนกันต่างกัน
4.ขั้นกฎเกณฑ์เป็นการให้ผู้เรียนนำข้อสังเกตต่างๆจากตัวอย่างมาสรุปเป็นหลักการกฏเกณฑ์หรือนิยามด้วยตัวผู้เรียนเอง
5.ขั้นนำไปใช้ในขั้นนี้ผู้สอนจะเตรียมตัวอย่างข้อมูลสถานการณ์ที่การปรากฏการณ์มีความคิดใหม่ๆที่หลากหลายมาให้ผู้เรียนใช้ในการฝึกความรู้ เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันและจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ประโยชน์
1.เป็นวิธีการที่ทำให้ผู้เรียนสามารถค้นพบความรู้ด้วยตนเองทำให้เกิดความเข้าใจและจดจำได้นาน
2.เป็นวิธีการที่ฝึกให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการสังเกตคิดวิเคราะห์เปรียบเทียบตามหลักตรรกศาสตร์และหลักวิทยาศาสตร์สรุปด้วยตนเองอย่างมีเหตุผลอันจะเป็นเครื่องมือสำคัญของการเรียนรู้ซึ่งใช้ได้ดีกับทางวิชาวิทยาศาสตร์
3.เป็นวิธีการที่ผู้เรียนได้ทั้งเนื้อหาความรู้และกระบวนการซึ่งผู้เรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้
1.2.6 วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง
วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง (Laboratory Method) คือเป็นวิธีสอนที่ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนลงมือปฏิบัติหรือทำการทดลองค้นหาความรู้ด้วยตนเองทำให้เกิดประสบการณ์ตรง
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1.ขั้นกล่าวนำ
2.ขั้นเตรียมดำเนินการ
3.ขั้นดำเนินการทดลอง
4.ขั้นเสนอผลการทดลอง
5.ขั้นอภิปรายและสรุปผล
ประโยชน์
1.ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของการปฏิบัติการหรือทดลอง
2.เป็นการเรียนรู้จากการกระทำเพื่อเป็นการเรียนรู้จากสภาพจริง
3.เสริมสร้างความคิดในการหาเหตุผล
รูปแบบการสอนกลุ่มปัญญานิยม
2. กลุ่มปัญญานิยม
2.1 แนวคิดกลุ่มปัญญานิยม (Cognitive) ซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานคือ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล( ประสบการณ์ ) การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆโดยเน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิดสร้างความรู้ความเข้าใจให้ตนเอง
2.2 รูปแบบการสอนแบบแนวคิดกลุ่มปัญญานิยม
2.2.1 การสอนแบบความคิดรวบยอด
คือการมีความรู้ความเข้าใจลักษณะเฉพาะร่วมของสิ่งเร้า(เช่นวัตถุสถานการณ์เหตุการณ์)กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งสามารถทำได้โดยการหา คุณสมบัติเฉพาะที่สำคัญของ สิ่งนั้นเพื่อเป็นเกณฑ์ในการจำแนก สิ่งที่ใช่และไม่ใช่สิ่งนั้นออกจากกันได้เช่นความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ โต๊ะหมายถึง สิ่งเร้า กลุ่มที่มีขาและมีพื้นที่หน้าตัดสำหรับไว้ใช้งานเขียนหนังสือวางสิ่งของเป็นต้นความคิดรวบยอดเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งที่ใช้ในการเรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆการจัดการเรียนการสอนจึงต้องให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดที่ถูกต้องให้ได้มิฉะนั้นแล้วผู้เรียนจะไม่สามารถเรียนรู้หรือเข้าใจสิ่งต่างๆอย่างแท้จริง
กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
1.ขั้นการสังเกต
2.ขั้นจำแนกความแตกต่าง
3.ขั้นหาลักษณะร่วม
4.ขั้นระบุชื่อความคิดรวบยอด
ขั้นทดสอบและนำไปใช้ขั้นตอนการสอนความคิดรวบยอดให้นักเรียนสังเกตบอกสิ่งที่เห็นที่เราต้องการให้เกิดความคิดรวบยอดและนำมาเปรียบเทียบหาลักษณะที่แตกต่างและเหมือนกันจัดกิจกรรมขั้นที่ 1 และ 2 จำนวน 3-4 ตัวอย่าง แล้วจึงดำเนินการนำตัวอย่างทั้งหมดให้นักเรียนหาลักษณะร่วมที่เหมือนกันและจริงสอนขั้นที่ 4-5 ให้ตัวอย่างแล้ว อย่าลืมตั้งคำถามให้เด็กตอบขั้นที่สำคัญคือ คันที่ 1-3 ลองคิดลองทำใช้ฝึกเด็กต่อไปจะไม่มีคำถามว่าทำไมถึงคิด
2.2.2 การสอนแบบสืบสวนสอบสวน
การสอนแบบสืบสวนสอบสวน คือการสอนวิธีแสวงความจริงเพื่อนำไปสู่การค้นพบกฎเกณฑ์ธรรมชาติคุณลักษณะของสิ่งต่างๆการนำกฎเกณฑ์มาใช้และสามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมได้เป็นการสอนให้คิดเป็นทำเป็นและแก้ปัญหาด้วยวิธีการวิทยาศาสตร์
ขั้นตอนของการสอนแบบสืบสวนสอบสวน
ขั้นที่ 1 ตั้งปัญหาเมื่อผู้เรียนมีจุดมุ่งหมายว่าต้องการอยากรู้อะไรหรือกำลัง สืบค้นหาอะไรจึงเริ่มด้วยการ ตั้งปัญหา ปัญหาอาจได้มาจากเหตุการณ์จากการทดลองเริ่มจากตัวผู้เรียนเอง
ขั้นที่ 2 ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกัน ทำนายคำตอบโดยอาศัยเหตุผลประกอบการทํานายอย่างมีเหตุผล เรียกว่าสมมติฐาน
ขั้นที่ 3 ออกแบบการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐานหรือการหาวิธีการเพื่อที่จะให้ได้ผลออกมาได้ซึ่งไม่จำเป็นว่าผลนั้น จะตรงกับสมมติฐานหรือไม่ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนรู้จักคิด
ขั้นที่ 4 การดำเนินการตามที่ได้ออกแบบไว้ในขั้นที่ 3 เพื่อพิสูจน์ว่าสมมติฐานใดเป็นไปได้
ขั้นที่ 5 สรุปผลเมื่อพบว่าสมมติฐานที่ตั้งขึ้นมีข้อมูลอะไรบ้างที่จะสนับสนุนตัดสินและสรุปผลซึ่งจะได้คำตอบของปัญหาที่ต้องการทราบคือนำผลมา อภิปราย เพื่อแปลข้อมูลนำมาเป็นข้อสรุป
ขั้นที่ 6 นำผลสรุปไปใช้เป็นข้อมูลเพื่อจะค้นคว้าความรู้ต่อไปขั้นนี้ถือว่าเป็นขั้น นำผลสรุปไปใช้เป็นข้อมูลเพื่อจะค้นคว้าความรู้ต่อไปนี้ถือว่าเป็นขั้นการ นำความรู้ไปใช้
ผู้สอนจะเริ่มวิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวนซึ่งประกอบด้วยขั้นต่ำ 4 ขั้นคือ OCPC
1 O = Observation สังเกต ผู้สอนนำสิ่งของปัญหาสถานการณ์มาให้เด็กสังเกตเกิดความเข้าใจเด็กจะถามเพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับอธิบายข้อสงสัยนั้นๆ คำถามต้องเป็นแบบ “ ใช่หรือไม่ “ เพื่อเป็นการแยกปัญหาออกเป็น 2 ฝ่าย
2. E = Explanation อธิบาย เมื่อผู้เรียนได้ข้อมูลจากการสังเกตในขั้นแรกแล้วถ้าเด็กถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้นผู้สอนจะกระตุ้นให้ผู้เรียนช่วยกันหาคำอธิบายเกิดตั้งสมมติฐานอธิบายว่าปัญหาสถานการณ์ปรากฏการณ์นั้นๆมีอะไรเป็นมูลเหตุเหตุใดจึงเกิดผลเช่นนั้น
3. P = Prediction การทำนาย เมื่อตั้งสมมติฐานแล้วจะคาดการณ์ล่วงหน้าโดยนำความรู้ที่ได้ไปทํานายปรากฏการณ์อื่นๆ ถ้ามีเหตุเช่นเดียวกันนั้นจะเกิดผลเป็นอย่างไร
4. C = Control and Creativity นำไปใช้และสร้างสรรค์ ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดว่าสิ่งที่ผู้เรียนพบนี้จะนำไปใช้อะไรได้บ้างเพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ไปคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์อื่นๆที่เป็นประโยชน์
เทคนิคการสอนแบบสืบสวนสอบสวน
1.เตรียมปัญหาที่จะต้องสืบสวนสอบสวน ปัญหานั้นอาจตั้งขึ้นเองโดยผู้สอนและผู้เรียนควรเป็นปัญหาที่ผู้เรียนสนใจใคร่รู้และไม่เป็นปัญหาที่ง่ายหรือยากเกินไป
2.ผู้สอนต้องเตรียมอุปกรณ์แหล่งวิชาการที่ผู้เรียนจะไปค้นคว้า เพื่อสืบสวนสอบสวน เท่าที่สามารถจัดหนักให้ได้
3.ผู้สอนไม่ควรตอบคำถามผู้เรียนเพื่อแก้ปัญหาเสียเอง แต่ผู้สอนอาจช่วยตั้งคำถามให้ชัดเจนยิ่งขึ้นได้
4.ผู้สอนต้องวางตัวเป็นกลางเมื่อผู้เรียนต่างมีเหตุผลมาโต้เถียง หรือขัดแย้งกันชมเชยหรือให้รางวัลเมื่อผู้เรียนตั้งคำถามได้ดีหรือมีคำตอบที่ถูกต้องมีเหตุผล
5.ติดตามดูการค้นคว้าทดลองของผู้เรียนอย่างใกล้ชิดไม่ปล่อยปละละเลยเมื่อผู้เรียนค้นคว้าออกนอกแนวทางป้องคอยแนะนำให้ถูกทางเพื่อผลสรุปที่ถูกต้อง
ประโยชน์
1.ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดและสติปัญญาของตนเองอยากมีอิสระ
2. ช่วยให้ผู้เรียนคิดอย่างเป็นกระบวนการ3. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์
2.2.3 การสอนตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์สรุปเป็นสาระสำคัญ ได้ดังนี้
1.ความรู้ของบุคคลใดคือโครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนั้นที่สร้างขึ้นจากประสบการณ์ในการคลี่คลายสถานการณ์ที่เป็นปัญหาและสามารถนำไปใช้เป็นฐานในการแก้ปัญหาหรือธิบายสถานการณ์อีกได้
2.นักเรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยวิธีการที่ต่างๆกันโดยอาศัยประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิมความสนใจและแรงจูงใจภายในตนเองเป็นจุดเริ่มต้น
3.ครูมีหน้าที่จัดการให้นักเรียนได้ปรับขยายโครงสร้างทาง ปัญญาของนักเรียนเอง
การออกแบบการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ซึม
1.การสร้างการเรียนรู้ (Learning Constructed)
2. การแปลความหมายของแต่ละคน (Interpretation personal)
3.การเรียนรู้เกิดจากการลงมือกระทำ (Learning active)
4.การเรียนรู้ที่เกิดจากการร่วมมือ (Learning Collaborative)
5.การเรียนรู้ที่เหมาะสม (Learning Situated)
6.การทดสอบเชิงการบูรณาการ (Testing Integrated)
2.2.4 การสอนโดยการใช้สมองเป็นฐาน
การเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐาน( Brain Based Learning)คือการเรียนรู้ที่สอดคล้องวิถีการเรียนรู้หรือการทำงาน ของสมองทางธรรมชาติเช่นในเรื่องการเรียนการสอนจะเป็นการสอน ให้สอดคล้องกับวิธีการทำงานของสมองแทนที่จะสอดคล้องกับอายุ ชั้นเรียนหรือห้องเรียนเพียงอย่างเดียว เพราะเด็กที่อายุเท่ากันอาจมีสมองไม่เหมือนกันก็ได้หรือมีความสามารถแตกต่างกัน หรือความสนใจแตกต่างกันด้วย การใช้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวข้องกับสมอง เป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์
หลักการออกแบบกระบวนการเรียนรู้แบบ Brain-Based learning
1.สิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นความสนใจ
2. สถานที่สำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มรวมกัน
3. เชื่อมโยงสถานที่เรียนในร่มกับนอกห้อง
4. จัดหาสถานที่หลากหลาย
5.ยืดหยุ่นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและกระตุ้นการเรียนรู้เพื่อให้เหมาะสมกับสมองที่แตกต่างกันของแต่ละคนและภาวะที่เปลี่ยนแปลงไป
6. ความปลอดภัยลดความเสี่ยงต่างๆโดยเฉพาะในชุมชนเมือง
2.2.5 การสอนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
การสอนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน(Problem-Based Learning) เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากปัญหาที่เกิดขึ้นโดยสร้างความรู้จากกระบวนการทำงานกลุ่มเพื่อแก้ปัญหาหรือสถานการณ์เกี่ยวกับชีวิตประจำวันและมีความสำคัญต่อผู้เรียนการเรียนรู้แบบนี้มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะและกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองซึ่งผู้เรียนจะได้ฝึกฝนการสร้างองค์ความรู้โดยผ่านกระบวนการคิดโดยการแก้ปัญหาอย่างมีความหมายต่อผู้เรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาจากสถานการณ์ต่างๆ
ขั้นที่ 2 ทำความเข้าใจกับปัญหา
ขั้นที่ 3 ดำเนินการศึกษาค้นคว้า
ขั้นที่ 4 สังเคราะห์ความรู้
ขั้นที่ 5 สรุปและ ประเมินค่าของคำตอบ
ขั้นที่ 6 นำเสนอและประเมินผลงาน
ประโยชน์
มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะและกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้โดยการชี้นำตนเองซึ่งผู้เรียนจะได้ฝึกฝนการสร้างองค์ความรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและการแก้ปัญหาอย่างมีความหมายต่อผู้เรียน
รูปแบบการสอนกลุมมนุษยนิยม
3. กลุ่มมนุษยนิยม
3.1 แนวคิดกลุ่มมนุษยนิยม (Humanism) มีแนวคิดพื้นฐานคือเน้นให้บุคคลได้มีเสรีภาพเลือกวิถีชีวิตตามความต้องการและความสนใจให้เสรีภาพในการคิดเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นให้บุคคลมองบวกในตนและผู้อื่น ยอมรับตนเองและผู้อื่นนำส่วนดีในตนเองมาใช้ประโยชน์ให้เต็มศักยภาพ
3.2 รูปแบบการสอนกลุ่มมนุษยนิยม
3.2.1 วิธีสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)
คือเป็นการสอนโดยที่นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ขั้นตอนของวิธีสอนแบบอภิปราย
1.ขั้นนำเข้าสู่หัวข้อการอภิปรายเป็นขั้นการกระตุ้นหรือเร้าความสนใจของนักเรียนให้มีความสนใจร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็น
2.ขั้นอภิปราย ให้แบ่งนักเรียนเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายผู้อภิปรายซึ่งอยู่หน้าชั้นเรียนกับฝ่ายผู้ฟัง
ประโยชน์
1.ส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนมีโอกาสแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
2. พัฒนาสติปัญญาของนักเรียนด้านการคิดหาเหตุผล
3.ส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้ของนักเรียนเพื่อนำมาใช้ในการอภิปราย
https://prezi.com/uax-62igdas7/presentation/
https://prezi.com/uax-62igdas7/presentation/
3.2.2 วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน
วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method) คือเป็นวิธีสอนที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มร่วมมือกันศึกษาค้นคว้าหาวิธีการแก้ปัญหาหรือปฏิบัติกิจกรรมตามความสามารถ ความถนัด หรือความสนใจ เป็นการฝึกให้นักเรียนทำงานร่วมกันตามวิถีแห่งประชาธิปไตย
ขั้นตอนในการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน
1.ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดความมุ่งหมายของการทำงานในแต่ละกลุ่ม ขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่กำหนดความมุ่งหมายและวิธีการทำงานอย่างละเอียด
2.ครูเสนอแนะแหล่งวิทยาการที่จะใช้ค้นคว้าหาความรู้ได้แก่รายละเอียดของหนังสือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
3. นักเรียนร่วมกันวางแผนและปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4.ครูและนักเรียนประเมินผลการทำงานในกรณีที่ครูให้สังเกตพฤติกรรมขอองนักเรียนในการปฏิบัติงานในกรณีนักเรียนร่วมกันประเมินผลการปฏิบัติงานในกลุ่มตนเองโดยบอกขั้นตอนการปฏิบัติงานผลที่ได้รับ และการพัฒนางานในโอกาสต่อไป
ประโยชน์
1. นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นของตนเองอย่างเต็มที่
2.นักเรียนได้ทำงานตามความถนัด ความสามารถ และความสนใจของตน
3.2.3 วิธีสอนแบบหน่วย
วิธีสอนแบบหน่วย (Unit Teaching Method) คือเป็นวิธีการสอนที่นำเนื้อหาวิชาหลายวิชามาสัมพันธ์กัน โดยไม่กำหนดขอบเขตของวิชา แต่ยึดความมุ่งหมายของบทเรียนที่เรียกว่า "หน่วย"
ขั้นตอนของวิธีการสอนแบบหน่วย
1. ขั้นนำเข้าสู่หน่วย
2.ขั้นนักเรียนและครูวางแผนร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรม
3. ขั้นลงมือทำงาน
ประโยชน์
1.เป็นวิธีการสอนที่ส่งเสริมความถนัดตามธรรมชาติของนักเรียน เพราะการสอนแบบนี้มีกิจกรรมหลายประเภทให้นักเรียนได้เลือกปฏิบัติทำตามที่ถนัดและสนใจ
2. นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนร่วมกับครู
3.นักเรียนได้รับการส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย และได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
3.2.4 วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์
วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ ( Scientific Method ) คือเป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนพบปัญหา และคิดหาวิธีแก้ปัญหาโดยขั้นทั้ง 5 ของวิทยาศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์
1. ขั้นกำหนดปัญหา และทำความเข้าใจถึงปัญหา
2. ขั้นแยกปัญหา และวางแผนแก้ปัญหา
3.ขั้นลงมือแก้ปัญหาและเก็บข้อมูล
4.ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลหรือรวบรวมความรู้เข้าด้วยกันและแสดงผลเป็นขั้นการรวบรวมความรู้ต่างๆ จากปัญหาที่แก้ไข้แล้ว
5. ขั้นสรุปและประเมินผลหรือขั้นสรุปและการนำไปใช้
ประโยชน์
1.นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองและได้ร่วมปฏิบัติงานเป็นทีม
2. ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย
3. ส่งเสริมให้มีความรับผิดชอบ
3.2.5 การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method) คือเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบ หรือความรู้ด้วยตนเอง เป็นวิธีจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการเหมาะสำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์แต่ก็สามารถใช้กับวิธีอื่นๆ ได้ ในการแก้ปัญหานั้น ผู้เรียนจะต้องนำข้อมูลทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปเพื่อให้ได้ข้อค้นพบใหม่หรือเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ผู้สอนกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียนให้สนใจที่จะศึกษาบทเรียน
2. ขั้นเรียนรู้ ประกอบด้วย
2.1 ผู้สอนใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ แบบอุปนัยในตอนแรก เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบข้อสรุป
2.2 ผู้สอนใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ แบบนิรนัย เพื่อให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ในข้อ 2 ไปใช้เพื่อเรียนรู้หรือค้นพบข้อสรุปใหม่ในตอนที่สอง โดยอาศัยเทคนิคการซักถาม โต้ตอบ หรืออภิปรายเพื่อเป็นแนวทางในการค้นพบ
2.3 ผู้เรียนสรุปข้อค้นพบหรือความคิดรวบยอดใหม่
3.ขั้นนำไปใช้ ประโยชน์
1. ช่วยให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผล
2. ช่วยให้ผู้เรียนค้นพบสิ่งที่ค้นพบได้นานและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
3. ผู้เรียนมีความมั่นใจ เพราะได้เรียนรู้สิ่งใหม่อย่างเข้าใจจริง
3.2.6 วิธีสอนแบบทีม
วิธีสอนแบบทีม (Team Teaching Method) คือเป็นการสอนที่ครูอย่างน้อย 2 คน ร่วมมือกันเตรียมการสอนอย่างใกล้ชิดและสอนนักเรียนร่วมกันในห้องเดียวกันหรือกลุ่มเดียวกัน
ลัษณะของการสอนเป็นทีดี
1.ในห้องเรียนมีครูสอนมากกว่าหนึ่งคนรับผิดชอบร่วมกันในการจัดการเรียนการสอนเริ่มตั้งแต่กำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาวิชา วิธีสอน สื่อการสอน ลงมือสอน ประเมินผล
2. ใช้วิธีสอนหลายรูปแบบ ได้แก่ การบรรยาย การค้นคว้าด้วยตนเอง การอภิปราย การแก้ปัญหา การสาธิต เป็นต้น
3. มีรูปแบบของการสอนเป็นทีม ได้แก่ แบบมีผู้นำคณะ แบบไม่มีผู้นำคณะ และแบบครูผู้เรียน
ประโยชน์
1.ผู้สอนแต่ละคนได้แสดงความสามารถในการสอนของตนอย่างมีประสิทธิภาพ
2.การวางแผนที่ร่วมกันคิดร่วมกันทำให้ได้ผลงานที่สมบูรณ์ก่าคิดคนเดียว
3.ผู้เรียนได้สัมผัสผู้สอนในหลายลักษณะทำให้ไม่เบื่อหน่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น