ธอร์นไดค์
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์
(Edward Lee Thomdike)
ประวัติความป็นมา
เอ็ดเวิร์ด ลี ธอร์นไดค์ (Edward Lee Thomdike) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกา เกิด วันที่ 31สิงหาคม ค.ศ.1814ที่เมืองวิลเลี่ยมเบอรี่ รัฐแมซซาชูเสท และสิ้นชีวิตวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1949 ที่เมืองมอนท์โร รัฐนิวยอร์ค
หลักการเรียนรู้ ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง กล่าวถึง การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยมีหลักพื้นฐานว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่มักจะออกมาในรูปแบบต่างๆ หลายรูปแบบ โดยการลองถูกลองผิด จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีและเหมาะสมที่สุด ธอร์นไดค์ เขาได้เริ่มการทดลองเมื่อปี ค.ศ.1898 เกี่ยวกับการใช้หีบกล( Puzzie-box) เขาทดลองการเรียนรู้จนมีชื่อเสียง
หลักการเรียนรู้ ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง กล่าวถึง การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยมีหลักพื้นฐานว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่มักจะออกมาในรูปแบบต่างๆ หลายรูปแบบ โดยการลองถูกลองผิด จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีและเหมาะสมที่สุด ธอร์นไดค์ เขาได้เริ่มการทดลองเมื่อปี ค.ศ.1898 เกี่ยวกับการใช้หีบกล( Puzzie-box) เขาทดลองการเรียนรู้จนมีชื่อเสียง
การเรียนรู้แบบเชื่อมโยง
การที่ผู้เรียนสามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง หากได้รับความพึงพอใจ จะทำให้เกิดการเรียนรู้
การทดลองของธอร์นไดด์ที่เป็นที่รุ้จักกันดีที่สุด คือ “ การจับแมวหิวใส่กรง ”
การทดลอง
ในการทดลอง ธอร์นไดค์ได้นำแมวไปขังไว้ในกรงที่สร้างขึ้นแล้วนำปลาไปวางล่อไวนอกกรงให้ห่างพอประมาณ โดยให้แมวไม่สามารถยื่นเท้าไปเขี่ยได้ จากการสังเกต พบว่าแมวพยายามใช้วิธีการต่างๆ เพื่อจะออกไปจากกรง จนกระทั่งเท้าของมันไปเหยียบถูกคานไม้โดยบังเอิญ ทำให้ประตูเปิดออก หลังจาก นั้นแมวก็ใช้เวลาในการเปิดกรงได้เร็วขึ้น
จากการทดลอง ธอร์นไดค์อธิบายว่า การตอบสนองซึ่งแมวแสดงออกมาเพื่อแก้ปัญหา เป็นการตอบสนองแบบลองผิดลองถูก การที่แมวสามารถเปิดกรงได้เร็วขึ้น ในช่วงหลังแสดงว่า แมวเกิดการสร้างพันธะหรือตัวเชื่อมขึ้นระหว่างคานไม้กับการกดคานไม้
กฎการเรียนรู้ที่สำคัญ
1. กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (law of effect) พันธะหรือตัวเชื่อมระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองจะเข้มแข็งหรืออ่อนกำลัง ย่อมขึ้นอยู่กับผลต่อเนื่องหลังจากที่ได้ตอบสนองไปแล้ว ดังนั้น การได้รับผลที่พึงพอใจ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้
2. กฎแห่งการฝึกหัด (low of exercise) การฝึกหัดหรือกระทำบ่อยๆ ด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้นั้นคงถาวร ถ้าไม่ได้กระทำซ้ำบ่อยๆ การเรียนรู้นั้นจะไม่คงถาวร และในที่สุดอาจจะลืมได้
กฎแห่งการฝึกหัด แบ่งเป็น 2 กฎย่อย คือ
- กฎแห่งการได้ใช้ (Law of Use)
- กฎแห่งการไม่ได้ใช้ (Law of Disuse)
3. กฎแห่งความพร้อม (law of readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ
- เมื่อบุคคลพร้อมที่จะทำแล้วได้ทำ เขาย่อมเกิดความพอใจ
- เมื่อบุคคลพร้อมที่จะทำแล้วไม่ได้ทำ เขาย่อมเกิดความไม่พอใจ
- เมื่อบุคคลไม่พร้อมที่จะทำแต่เขาต้องทำ เขาย่อมเกิดความไม่พอใจ
สรุป
การเรียนรู้ของธอร์นไดค์ จะเกิดขึ้นได้ จากการลองผิดลองถูกและการฝึกกระทำบ่อยๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น